วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ลักษณนาม


ลักษณนาม
๑. การเรียงลำดับคำ
      การเรียงลำดับคำ เรียงตามลำดับคำแบบพจนานุกรม คำที่มีความหมายเหมือนกันจะเก็บไว้ด้วยกันโดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นและเรียงสลับกันไปในตำแหน่งของหมวดอักษรนั้น ๆ โดยแสดงลักษณนามไว้ที่คอลัมน์ด้านขวา เช่น
กงกระสุน                               - คัน
กงเกวียน, กงล้อ                     - กง, วง
๒. คำนามที่มีหลายความหมาย
 ๒.๑ การกำหนดลักษณนามของคำนามที่มีหลายความหมาย ถ้าทุกความหมายมีลักษณนามเหมือนกันจะไม่ให้คำนิยามความหมายไว้ แต่ถ้ามีลักษณนามแตกต่างกันจะให้คำนิยามสั้น ๆ ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บหลังคำนามนั้น ๆ เพื่อบอกให้ทราบว่า เฉพาะความหมายที่กำหนดไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเท่านั้นที่มีลักษณนามตามที่กำหนด เช่น
ดารา                                      - ดวง
ตอม่อ (เสาบ้าน)                      - ต้น
ตอม่อ (ฐานรองรับสะพาน)       - ตอม่อ
 ๒.๒ คำนามที่มีความหมายคล้ายกันหรือใกล้เคียงกัน แต่ใช้ลักษณนามคำเดียวกันจะเก็บไว้ด้วยกันโดยใช้เครื่องหมายอัฒภาคคั่น เช่น  ศาล; ศาลเจ้า; ศาลเทพารักษ์     - ศาล
 ๒.๓ คำนามที่มีหลายความหมาย แต่ใช้ลักษณนามเหมือนกัน จะให้คำนิยามสั้น ๆ ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บหลังคำนามนั้น ๆ โดยใช้เครื่องหมายอัฒภาคคั่น เช่น
 
ชนัก (เครื่องแทงสัตว์; เครื่องผูกคอช้าง)            - เล่ม
๓. คำนามที่มีลักษณนามได้หลายอย่าง
         คำนามบางคำอาจมีลักษณนามได้หลายอย่าง ในการกำหนดลักษณนามแบ่งออกเป็น ๓ แบบ คือ
  ๓.๑ กำหนดลักษณนามที่นิยมใช้กันมากไว้หน้าสุดและลักษณนามอื่น ๆ เรียงตามกันไปโดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่น เช่น
ไข่                                     - ใบ, ฟอง, ลูก
โคม (ชนิดต่าง ๆ)               - ดวง, ใบ, ลูก
  ๓.๒ กำหนดลักษณนามแตกต่างกันตามสภาพที่เป็นอยู่ โดยใช้เครื่องหมายอัฒภาคคั่น เพื่อบอกให้รู้ว่าลักษณ-นามนั้น ๆ แม้จะเป็นลักษณนามของสิ่งเดียวกันแต่ก็มีความแตกต่างกันตามสภาพ เช่น
ซิ่น, ผ้าซิ่น                          - ผืน; ตัว, ถุง
หมายความว่า ซิ่น หรือ ผ้าซิ่น ถ้ายังไม่ได้ตัดเย็บลักษณนามใช้ว่า ผืน แต่ถ้าตัดเย็บแล้วใช้ลักษณนามว่า ตัว หรือ ถุง
ปิ่นโต                               - ใบ, ลูก; เถา, สาย
หมายความว่า ปิ่นโตแต่ละใบ ใช้ลักษณนามว่า ใบ หรือลูก แต่ถ้านำมาเรียงซ้อนกันแล้วมีเครื่องยึดรวมเข้าด้วยกัน ใช้ลักษณนามว่า เถา หรือ สาย
บางครั้งอาจให้คำอธิบายสั้น ๆ ไว้หลังลักษณนามนั้น ๆ โดยใส่คำอธิบายไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ เช่น
ระนาด (เครื่องปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง)       - ลูก (ลูกระนาด);ผืน (ลูกระนาดที่ร้อยเข้าเป็นชุด); ราง
๓.๓ กำหนดลักษณนามตามขนาด ความกว้าง ความยาว ปริมาณ น้ำหนัก หรือรูปแบบที่ใช้งาน โดยระบุว่า เรียกตามลักษณะหรือ เรียกตามลักษณะหรือลักษณะบรรจุภัณฑ์แล้วให้ยกตัวอย่างลักษณนาม เช่นทอฟฟี่                           - เรียกตามลักษณะหรือลักษณะบรรจุภัณฑ์
                                       เช่น เม็ด อัน ห่อ แท่ง
หรือกำหนดทั้งลักษณนามทั่วไปและลักษณะบรรจุภัณฑ์ เช่น
ด้าย                             - เส้น; เรียกตามลักษณะหรือลักษณะบรรจุภัณฑ์ เช่น   กลุ่ม เข็ด ไจ หลอด
ผม                              - เส้น; เรียกตามลักษณะ เช่น กระจุก ปอย
ฉลองพระเนตร             - องค์
ฉลองพระบาท, รองพระบาท       - ข้าง, องค์; คู่
ในกรณีที่คำนามนั้นเป็นทั้งคำราชาศัพท์และคำนามที่ใช้ได้ทั่วไป จะกำหนดลักษณนามไว้ทั้ง ๒ อย่าง เช่น
พระขรรค์                     - องค์; เล่ม (ถ้าใช้ทั่วไป)
๔. คำนามที่เป็นคำรวม
         คำนามที่เป็นคำรวม เช่น ขนม ผลไม้ ดอกไม้ จะกำหนดลักษณนามรวมไว้โดยไม่แยกออกเป็นชนิดย่อยตามนามของสิ่งเหล่านั้น แต่ถ้าลักษณนามของชนิดย่อยมีเพิ่มขึ้นหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในลักษณนามรวม ก็จะตั้งคำนามของชนิดย่อยและกำหนดลักษณนามที่เพิ่มขึ้นหรือแตกต่างออกไปจากลักษณนามรวมไว้ที่ลำดับคำนั้น ๆ เช่น
ขนม                           - เรียกตามลักษณะ เช่น ชิ้น อัน แผ่น ตัว;
                                    เรียกตามภาชนะที่บรรจุ เช่น ถ้วย ชาม
ขนมครก                    - ฝา; คู่
ขนมจีน                      - จับ, หัว
ไข่นกกระสา (ขนม)     - ลูก
ซาลาเปา                     - ใบ, ลูก
๕. คำนามที่เป็นคำราชาศัพท์
  คำราชาศัพท์ที่เก็บไว้ส่วนใหญ่เป็นคำราชาศัพท์ที่ไม่ได้เกิดจากการเติมคำว่า พระหน้าคำนาม และมักจะใช้เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์เท่านั้น ส่วนคำราชาศัพท์ที่เกิดจากการเติมคำว่า พระหน้าคำนามทั่ว ๆ ไป มีเก็บไว้เป็นส่วนน้อย ทั้งนี้เพราะเห็นว่า คำนามที่เป็นคำราชาศัพท์ ส่วนใหญ่จะมีลักษณนามเป็นองค์ยกเว้นที่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น
 
ฉลองพระเนตร                          - องค์
ฉลองพระบาท, รองพระบาท       - ข้าง, องค์; คู่
ในกรณีที่คำนามนั้นเป็นทั้งคำราชาศัพท์และคำนามที่ใช้ได้ทั่วไป จะกำหนดลักษณนามไว้ทั้ง ๒ อย่าง เช่น
พระขรรค์                                 - องค์; เล่ม (ถ้าใช้ทั่วไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น