วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

แนะนำบล็อก


        แนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book)
ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (
e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย

อย่าลืมนะค่ะ เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (
e-book) น่ะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

ณ บ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช


แหล่งเรียนรู้ชุมชน ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์ สืบสานเจตนารมย์บรรพบุรษจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียน สอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชน



        แหล่งเรียนรู้รู้ชุมชนหรือบ้านหลังเรียนของหลวงปู่ทวดครูสิงห์ ซึ่งเป็นสถานทีบ้านหลังเล็กเปรียบเหมือนสถานศึกษาศิษย์ที่บุตรและธิดาได้สืบสานอุดมการณ์ต่อจากวิถีคิดของพ่อกับแม่ว่า ต้องการสร้างโรงเรียนให้การศึกษาแก่บุตรหลานในชุมชนตนเอง ที่บ้านกุดแคนหมู่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์และแม่สง่า ฤทธิเดช ได้ร่วมกันจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์แม่สง่า ฤทธิเดช เปิดสอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชนตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยเปิดทำการสอนให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 80 คน จาก 12 หมู่บ้าน เปิดเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.30 น.-12.30น.โดย โดยห้องเรียนใช้บริเวณห้องโถงข้างบ้าน และสวนหลังบ้านใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ


โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาเทคโนโลยี
และนวัตกรรมสารสนเทศเพื่อการศึกษา


โครงการเรียนรู้เชิงวิชาการจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย


ณ. “แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์”





          โครงการบ้านหลังเรียน “แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์” บ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสานต่ออุดมการณ์ของ “ปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช” อดีตครูประชาบาลที่มีความต้องการสร้างโรงเรียนให้ชุมชน และเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนไปทำกิจกรรมเสี่ยง ด้วยการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อกันเด็กและเยาวชนไม่ให้หลงทางเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในสังคม ให้หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ภายใต้แนวคิดเด็กนำผู้ใหญ่หนุนโดยมีดร.ประสพสุข ฤทธิเดช หรือ “อาจารย์ป้าต๋อย” ผู้อำนวยการและผู้ประสานงานแหล่งเรียนรู้ชุมชนฯ

นิทาน เรื่องข้าวฟ่างจอมเหวี่ยง

นิทาน เรื่องข้าวฟ่างจอมเหวี่ยง




นิทานเรื่อง ข้าวฟ่างจอมเหวี่ยง
แต่งโดย
นางสาวดาราวดี  ประสีระตา
รหัส 533410010310
  จำนวนหน้า  15


หน้า 1





หน้า 2



หน้า 3





หน้า 4





หน้า 5




หน้า 6




หน้า 7




หน้า 8




หน้า 9




หน้า 10




หน้า 11




หน้า 12




หน้า 13




หน้า 14





สามารถดาวน์โหลดนิทานได้ที่นี่ค่ะ คลิกที่นี่

การออกเสียงตัว ฑ ที่มาจากบาลีและสันสกฤต


การออกเสียงตัว ฑ ที่มาจากบาลีและสันสกฤต
                 คำที่เป็นปัญหาในการออกเสียงมากที่สุดคำหนึ่ง ก็คือ คำที่มีตัว ฑ อยู่ด้วย ว่าเมื่อใดจะออกเสียงเป็น ด และเมื่อใดจะออกเสียงเป็น ท  คำบางคำในภาษาบาลี พระท่านเคยออกเสียงเป็น ด แต่เรามาออกเสียงเป็น ท ก็มี ทำอย่างไรเราจึงจะกำหนดได้ว่าเมื่อใดจะออกเสียง ด และเมื่อใดจะออกเสียง ท  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ไม่สามารถจะวางกำหนดกฎเกณฑ์ให้ตายตัวลงได้ แต่ก็พอมีหลักอยู่บ้าง ดังที่ท่านอาจารย์กำชัย ทองหล่อ กรรมการชำระปทานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถานได้ให้ไว้ในหนังสือ หลักภาษาไทย ของท่าน ดังนี้
         ก. ออกเสียงเป็น ด เมื่อเป็นคำตาย เช่น ตัณฑุล” (ตัน-ดุ-ละ) ซึ่งแปลว่า ข้าวสาร บัณฑิต (บัน-ดิด) ซึ่งแปลว่านักปราชญ์ หรือ ผู้จบการศึกษาระดับปริญญา บัณฑิตย์ เช่น ราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ความเป็นบัณฑิต ความฉลาด   บัณฑุ (บัน-ดุ) แปลว่า สีเหลือง  บัณเฑาะก์(บัน-เดาะ) แปลว่า กะเทยหรือขันที  บัณเฑาะว์(บัน-เดาะ) คือ กลองเล็ก ๆ ชนิดหนึ่งที่พวกพราหมณ์ใช้ในพระราชพิธี เช่นคำว่า ไกวบัณเฑาะว์   บุณฑริก(บุน-ดะ-ริก) แปลว่า บัวขาว   มณฑป (มน-ดบ) แปลว่า เรือนยอด  ฑังสะ (ดัง-สะ) แปลว่า เหลือบ หรือ ยุง  เลฑฑุ (เลด-ดุ) หรือ เลณฑุ (เลน-ดุ) แปลว่า ก้อนดิน
         ข. ออกเสียงเป็น ท มีทั้งคำเป็นและคำตาย เช่น กมัณฑลุ(กะ-มัน-ทะ-ลุ) แปลว่า หม้อน้ำ กรัณฑรัตน์ (กะ-รัน-ทะ-รัด) แปลว่า ตลับเพชร   กุณฑล(กุน-ทน) แปลว่า ตุ้มหู   กุณฑี (กุน-ที) แปลว่า หม้อน้ำ, เต้าน้ำ   "กุณโฑ" (กุน-โท) แปลว่า คนโท, หม้อน้ำ   ขัณฑสีมา (ขัน-ทะ-สี-มา) แปลว่า ส่วนที่เป็นเขตแดน   ขัณฑสกร (ขัน-ทด-สะ-กอน) แปลว่า น้ำตาลกรวด   คัณฑมาลา(คัน-ทะ-มา-ลา) ชื่อฝีชนิดหนึ่ง   คัณฑสูตร (คัน-ทะ-สูด) ชื่อฝีชนิดหนึ่ง  เคณฑะ (เคน-ทะ) แปลว่า ลูกข่าง   จัณฑาล (จัน-ทาน) แปลว่า ต่ำช้า, ดุร้าย   ทัณฑฆาต (ทัน-ทะ-คาด) ชื่อเครื่องหมายบังคับอักษรไม่ให้ออกเสียง บัณฑร (บัน-ทอน) แปลว่า สีขาวเหลือง   บัณฑูร(บัน-ทูน) แปลว่า คำสั่ง   มณฑก (มน-ทก) แปลว่า กบ   มณฑล (มน-ทน) แปลว่า บริเวณ, วงรอบ, แคว้น  มณฑา” (มน-ทา) ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง  มณฑารพ (มน-ทา-รบ) ชื่อดอกไม้สวรรค์   มัณฑนะ (มัน-ทะ-นะ) แปลว่า เครื่องประดับ, การตกแต่ง มัณฑุก (มัน-ทุก) แปลว่า กบ
 
คำต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ ล้วนเป็นคำเก่า ๆ ที่ท่านเก็บไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ แล้ว  ส่วนในพจนานุกรม ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านได้เก็บคำที่มี อยู่ด้วยไว้อีกหลายคำ บางคำก็ออกเสียง ด บางคำก็ออกเสียง ท เมื่อใดจะออกเสียงอย่างใดนั้น จะได้นำมาเสนอท่านผู้ฟังในคราวหน้า
          เมื่อคราวที่แล้วได้กล่าวถึงการออกเสียงตัว ฑ ที่มาจากคำบาลีและสันสกฤต ซึ่งเรามักจับหลักไม่ได้ และ ท่านอาจารย์กำชัย  ทองหล่อ ได้ให้หลักไว้เป็นแนวสังเกต แม้จะใช้เป็นหลัก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ก็ตามแต่ก็ยังดีกว่าไม่มีหลักเสียเลย
         ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้เก็บคำพวกที่มี ฑ อยู่ด้วย ไว้อีกหลายคำตามความเจริญงอกงามของภาษา ซึ่งคำเหล่านั้นก็มีที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตทั้งนั้น พอจะแยกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีคำว่า ทัณฑ (ทัน-ดะ) เป็นหลัก กับกลุ่มที่มีคำว่า ภัณฑ(พัน-ดะ) เป็นหลัก ดังนี้
         กลุ่มที่มี ทัณฑ ซึ่งแปลว่า โทษเนื่องด้วยความผิด เป็นหลัก ได้แก่
           ๑. ทัณฑกรรม (ทัน-ดะ-กำ) น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ประพฤติผิด.
          ๒. ทัษฑฆาต (ทัน-ทะ-คาด) น. ชื่อเครื่องหมายสำหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง มีรูปดังนี้    ”.
          ๓. ทัณฑนิคม (ทัน-ทะ-นิ-คม) น. เรือนจำที่จัดเป็นนิคมให้ผู้ต้องโทษนำครอบครัวไปอยู่และทำมาหากินในที่นั้นได้.
               ๔. ทัณฑ์บน (ทัน-บน) น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทานบน ก็ว่า. (คำนี้ที่ ทัณฑท่านการันต์ตัว ฑ จึงไม่ต้องออกเสียง)
          ๕. ทัณฑวิทยา (ทัน-ทะ-วิด-ทะ-ยา) น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา. (อ. penology).
          ๖. ทัณฑสถาน (ทัน-ทะ-สะ-ถาน) น. เรือนจำประเภทหนึ่งเป็นที่ควบคุมผู้ต้องโทษที่ได้รับการคัดเลือกจากเรือนจำตามลักษณะประเภทความผิด เกณฑ์อายุ และเพศ เพื่อผลในการฝึกอบรมวิชาชีพ
          ๗. ทัณฑิกา (ทัน-ทิ-กา) น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีกลอนสัมผัสกันคล้ายกาพย์สุรางคนางค์.
          ๘. ทัณฑิมา (ทัน-ทิ-มา) น. ชื่อนกในพวกสัตว์หิมพานต์ รูปเป็นครุฑถือกระบอง.
          ๙. ทัณฑีบท (ทัน-ที-บด) น. โคลงโบราณชนิดหนึ่ง
     ส่วนกลุ่มที่มี ภัณฑ ซึ่งแปลว่า สิ่งของ, เครื่องใช้ เป็นหลัก ได้แก่
          ๑. ภัณฑครรภ (พัน-ดะ-คับ) น. ห้องเก็บของ.
          ๒. ภัณฑาคาร (พัน-ดา-คาน) น. โรงไว้ของ, คลังเก็บของ.
          ๓. ภัณฑาคาริก (พัน-ดา-คา-ริก) น. เจ้าหน้าที่ผู้รักษาคลังเก็บสิ่งของของสงฆ์.
          ๔. ภัณฑารักษ์ (พัน-ทา-รัก) น. ผู้รักษาคลังเก็บสิ่งของ.
          ๕. ภัณฑนะ (พัน-ดะ-นะ) น. การทะเลาะ, การทุ่มเถียง, การแก่งแย่ง.
          ๖. พิพิธภัณฑสถาน (พิ-พิด-ทะ-พัน-ทะ-สะ-ถาน) น. สถาบันถาวรที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียนและก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ.

การอ่านคำที่มีตัว ฤ


การอ่านคำที่มีตัว ฤ
สวัสดีค่ะ วันนี้นำความรู้เกี่ยวกับคำที่มี  ตัว ฤ   เพื่อสังเกตหลักการอ่านคำค่ะ
การอ่านคำที่มีตัว ฤ
ตัว ฤ อ่านออกเสียงได้ ๓ แบบ คือ เรอ ริ รึ  ดังนี้
๑.อ่านออกเสียง     เรอ   มีใช้คำเดียวคือ ฤกษ์
๒.อ่านออกเสียง   ริ
เมื่อเป็นพยัญชนะต้นของคำ และมีตัวสะกด เช่น
ฤทธิ์
ฤทธา
ฤณ
 - เมื่อตัวตาม        ป เช่น
กฤติกา
กฤษฎา
กฤษฎี
กฤษฎีกา
กฤษณา
ตฤณ
ตฤณชาติ
ตฤณมัย
ตฤตีย
ตฤท
ตฤป
ตฤษณา
ทฤษฎี
ปฤจฉา
ปฤษฎ์
ปฤษฎางค์
 - เมื่อ ฤ ตามตัว ศ  ส และมีตัวสะกด ที่ออกเสียงแบบเรียงพยางค์ เช่น
ศฤงคาร
สฤษฏ์
สฤษดิ์

 ๓.อ่านออกเสียง    รึ
-เมื่อ ฤ เป็นพยางค์หน้า เช่น
ฤชา
ฤชุ
ฤดี
ฤดียา, ฤติยา
ฤดู
ฤทัย
ฤษี
ฤษภ


- เมื่อ    อยู่ต้นคำ เช่น
ฤกษณะ
ฤคเวท
 - เมื่อ    ตามตัว              ที่ออกเสียงแบบเรียงพยางค์ เช่น
คฤหบดี
คฤหัสถ์
คฤหาสน์
คฤหา
ดฤถี
นฤดม
นฤเทพ
นฤบดี
นฤบาล
นฤเบศ
นฤคหิต
นฤโฆษ
นฤนาท
นฤมล
นฤมิต
มฤค
มฤคชาติ
มฤคทายวัน
มฤตยู
หฤทัย
หฤหรรษ์
หฤโหด


- เมื่อ    ตามตัว       ออกเป็นเสียงควบกล้ำ เช่น
พฤกษ์
พฤกษศาสตร์
พฤกษชาติ
พฤกษา
พฤฒาจารย์
พฤติกรรม
พฤติการณ์
พฤตินัย
พฤศจิกายน
พฤษภาคม
พฤหัสบดี  [พฺรึหัดสะบอดี, พะรึหัดสะบอดี]
คฤนถ์


 ๔. ออกเสียงได้ทั้ง  รึ  และ  ริ  ในบางคำ  เช่น 
อมฤต
มฤต
 หมายเหตุ    เดิม  ฤ  ฤๅ    ฦๅ   ตำราภาษาไทยในอดีตจัดเป็นสระเกิน  แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะเสียงที่เป็นเสียงสระแท้ ๆ      ฤๅ    ฦๅ  ไม่อาจจัดอยู่ในกลุ่มสระได้  เพราะมีเสียงพยัญชนะ      นำหน้า  คือ   รึ      ฤๅ รือ   ลึ   ฦๅ ลือ
จึงเรียกว่า  ตัว    ตัว   ฤๅ  ตัว    ตัว   ฦๅ